สามก๊ก กับ นโยบายจีนเดียว ( 一个中国 One-China policy )
สามก๊ก กับ นโยบายจีนเดียว
( 一个中国 One-China policy )
แผ่นดินจีนแตกแยกแล้วรวมเป็นหนึ่ง
รวมเป็นหนึ่งแล้วก็แตกแยก เป็นธรรมดาเช่นนี้นานนับพันปี
ยุคสามก๊กก็เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ดังกล่าว
เป็นช่วงที่เกิดความแตกแยกจากความอ่อนแอของส่วนกลางที่แย่งชิงอำนาจ และทำให้ขุนนางหัวเมืองต่างซ่องสุมกำลังเพื่อทำสงครามขยายอาณาเขตโดยไม่สนใจรัฐบาลกลาง
ต่างฝ่ายต่างอ้างตนว่าทำเพื่อราชวงศ์ฮั่น เท็จจริงอย่างไร สุดแท้แต่จะวิเคราะห์วิจารณ์กันไป ผลลัพธ์ที่ต้องการก็คือ การรวมแผ่นดินจีนให้เป็นหนึ่งเดียว โดยมาสำเร็จเอายุคของสุมาเอี๋ยน ซึ่งกว่าจะสำเร็จก็กินเวลาไปกว่าหกสิบปี
จากการดำเนินนโยบายการเมืองในยุคสามก๊ก มันทำให้ผมมองเห็นอะไรบางอย่างที่คล้ายๆ กับ นโยบายสำคัญของจีนในยุคปัจจุบัน คือ นโยบาย “จีนเดียว” หรือ 一个中国 หรือ One-China policy ซึ่งนโยบายนี้ผู้นำจีนแต่ละรุ่นยึดถือเสมอ ว่าจะต้องไม่มีจีนอื่นใดในโลกนี้ ไต้หวัน ฮ่องกง มาเก๊า ก็ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของจีน ประเทศใดที่ยอมรับความชอบธรรมของรัฐบาลปักกิ่ง ก็จะได้รับการต้อนรับ และให้เกียรติจากรัฐบาลปักกิ่งเป็นอย่างดี แต่ประเทศใดให้การยอมรับจีนอื่นๆ หรือให้การสนับสนุนผู้ที่เป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาลปักกิ่ง ประเทศนั้นก็จะมีความสัมพันธ์ทางการทูตติดลบทันที กับรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน
ปัญหาการเมืองภายในของจีนยุคปัจจุบัน เกิดมาในยุคที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตุง ได้ชัยชนะ โดยก่อตั้งสาธรณรัฐประชาชนจีน (PRC) และทำให้รัฐบาลสาธารณรัฐจีน (ROC) ภายใต้การนำของเจียงไคเช็คต้องถอยไปตั้งหลักที่ไต้หวัน ตอนแรกสหประชาชาติ และสหรัฐอเมริกา ยังไม่ยอมรับรัฐบาลปักกิ่ง ยังให้การยอมรับรัฐบาลพลัดถิ่นที่ไทเป แต่เข้าสู่ปี 1952 จีนขัดแย้งหนักกับสหภาพโซเวียตอย่างหนัก สหรัฐอเมริกา สมัยประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน เห็นช่อง ก็ได้เปิดสัมพันธ์ทางการทูตกับปักกิ่ง และได้ผลักดันเข้าเป็นสมาชิกถาวรของสหประชาชาติแทน สาธารณรัฐจีน(ไต้หวัน) ทำให้การเมืองโลกเปลี่ยนดุล เกิดขั้วอำนาจใหม่ขึ้นมา จะเรียกว่า “สามก๊กยุคสงครามเย็น” ก็ไม่ผิดนัก
แน่นอนว่ารัฐบาลคอมมิวนิสต์เมื่อแรกตั้ง
ก็ย่อมจะแสวงหาความมั่นคงโดยการนำกำลังทหารเข้าครอบครองดินแดนต่างๆ
ที่เคยเป็นของราชวงศ์ชิงเดิม เช่น ธิเบต ซินเจียงอุยกูร์ มองโกเลียใน เฮยหลงเจียง
เป็นต้น เพื่อแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติและเป็นที่รองรับการขยายตัวของประชากร จากนโยบายดังกล่าวทำให้เกิดแรงต่อต้านจากคนท้องถิ่น
แต่ก็สู้ไม่ได้ ต้องลี้ภัย เช่น ดาไลลามะ ผู้นำด้านจิตวิญญาณของธิเบต ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านรัฐบาลจีน
แต่ปัญหาที่ทำให้จีนหนักใจ และมีความพยายามจะรวมเข้าด้วยกัน
แต่ก็ยังไม่สำเร็จก็คือ “ไต้หวัน” หรือสาธารณรัฐจีนนั่นเอง ซึ่งจีนจะใช้นโยบายทำสงครามอย่างเช่นยุคสามก๊ก
ก็คงไม่เหมาะสมกับยุคปัจจุบัน ซึ่งไต้หวันก็ยังคงอาศัยความชอบธรรมที่ว่า
ตนสืบทอดสาธารณรัฐจีนตั้งแต่สมัยซุนยัตเซ็น ต่อด้วยเจียงไคเช็ค
ซึ่งตอนนี้ไม่ต่างจากจ๊กก๊กของเล่าปี่ที่ต้องถอยร่นมา ส่วนรัฐบาลปักกิ่ง
ก็ไม่ต่างจากวุยก๊ก ที่พยายามจะกำจัดตนเองอยู่ตลอดเวลา และไต้หวันเองก็ไม่ได้ประกาศเอกราชอย่างชัดเจนว่าเป็นประเทศไต้หวัน
แต่ใช้คำว่า Chinese
Taipei ในการติดต่อกับต่างประเทศ
มีนโยบายหนึ่งที่แสดงถึงความฉลาดของผู้นำจีนรุ่นที่ 2
คือนโยบาย 1 ประเทศ 2 ระบบ (一国两制
หรือ One
country, two systems) นั่นคือการยอมรับว่ามีเพียง
“จีนเดียว” แต่เขตจีนอิสระ เช่น ฮ่องกง มาเก๊าและไต้หวัน สามารถมีระบบเศรษฐกิจและการเมืองแบบทุนนิยมได้
ขณะที่ส่วนที่เหลือของจีนใช้ระบบสังคมนิยม ภายใต้ข้อเสนอนี้ แต่ละเขตสามารถคงมีระบบการเมือง
กฎหมาย เศรษฐกิจและการเงินของตนได้ รวมทั้งความตกลงด้านพาณิชย์และวัฒนธรรมกับต่างประเทศ
และจะมี "สิทธิบางอย่าง" ในการระหว่างประเทศ ไต้หวันสามารถคงมีกำลังทหารของตนได้
และเป็นการหลีกเลี่ยงการรับรองไต้หวันว่าเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐจีน
ซึ่งนโยบายนี้เป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของจีน ที่ทำให้ได้ ฮ่องกง และมาเก๊า
กลับมาสู่อ้อมอกของแผ่นดินใหญ่ ยังเหลือแต่เพียงไต้หวัน
การส่งมอบฮ่องกงให้กับจีน ปี 1997 |
เติ้งเสี่ยวผิง |
ผมมีคำพูดของเติ้งเสี่ยวผิง
ผู้นำสูงสุดของจีนรุ่นที่ 2
ได้กล่าวเนื้อหาภาพรวมถึงการที่เป็นคนจีนต้องทำให้ชาวจีนมาอยู่ในการปกครองแบบจีนเดียวไม่ว่าจะด้วยวีการใดๆ
หรือต้องใช้เวลานานแค่ไหนก็ตาม ดังมีตอนหนึ่งว่า “การบรรลุความเป็นจีนเดียว
คือความปรารถนาของชนทั้งชาติ แม้ผ่านไป 100 ปียังไม่สำเร็จ จะใช้เวลา 1,000 ปีก็ไม่สายที่จะรวมกันเป็นหนึ่ง” ซึ่งการได้ฮ่องกงกลับมา ถือเป็นสิ่งที่เค้าปรารถนาสูงสุดแม้ว่าตัวเค้าจะไม่ได้อยู่ถึงวันส่งมอบก็ตาม
มาถึงผู้นำรุ่นที่
4 คือ ยุคประธานาธิบดีหูจิ่นเทา
และนายเฉินสุ่ยเปียน เป็นผู้นำไต้หวัน
ยุคนี้เป็นยุคที่ความสัมพันธ์ระหว่างแผ่นดินใหญ่กับไต้หวันเลวร้ายที่สุด
เนื่องจากนายเฉินมีความพยายามจะให้ไต้หวันเป็นเอกราชจากจีน และให้ไต้หวันเข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ
ทำให้จีนเป็นเดือดเป็นร้อนมาก ซึ่งขัดหลักการ “จีนเดียว” ที่จีนยึดถือมาตลอด ปธน.หูจิ่นเทา
ถึงกับกล่าวว่า “ถ้าวันไดที่ไต้หวันประกาศอิสรภาพ วันนั้นจีนก็จะประกาศสงคราม”
"เราจะไม่ยอมให้ใครแยกไต้หวันไปจากจีน" นั่นแสดงให้เห็นว่าจีนยึดถือนโยบายนี้ยิ่งกว่านโยบายใดๆ ซึ่งต่อมาไต้หวันเลือกตั้งผู้นำคนใหม่มา
คือ นายหม่าอิงจิว ความสัมพันธ์จึงค่อยๆ ดีขึ้นมา
ตอนผมอ่านประวัติศาสตร์จีน
ผมมักจะดูแผนที่ประกอบไปด้วย เพราะมันทำให้เข้าใจภาพชัดขึ้น
แต่ก็อดสงสัยบางอย่างไม่ได้ คือ การที่จีนแผ่ขยายอำนาจจากจงหยวนลงใต้ถึงยูนนาน
กวางตุ้ง มันไกลกว่าเดินทัพขึ้นเหนือไปตีทางมองโกเลีย เฮยหลงเจียง อีกนะ
ทำไมเขาจึงไม่ยกไป หรือว่าเค้าขอรวมเผ่าพันธุ์ของตนให้ครบก่อน
แล้วค่อยไปตีที่อื่นๆ ในสามก๊กดูอย่างวุยก๊ก
มีดินแดนติดอยู่กับพวกชนเผ่าเร่ร่อนทางเหนือ มีพื้นที่มากมาย แต่ก็ไม่ไปตี กลับมุ่งลงใต้
ผมจึงมองว่าเค้าคงมีนโยบายจีนเดียวมานานละ ซึ่งไม่ว่าคนจีนจะไปอยู่ที่ใดจะต้องอยู่ใต้ฟ้าเดียวกัน
ภายใต้เงาของจักรพรรดิ ผมมองว่าการเมืองในสามก๊กกับนโยบายจีนเดียว
มันก็คือเรื่องเดียวกัน ที่เกิดขึ้นต่างยุคกันนั่นเอง
ม้าดอย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น